พยาธิหนอนหัวใจเป็นปรสิตที่อยู่ในกระแสเลือด และในห้องหัวใจ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ทั้งในสุนัข และแมวโดยรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เรามาดูกันซิว่า เจ้าพยาธิหนอนหัวใจมีการเจริญเติบโต และพัฒนาเป็นระยะต่างๆ ได้อย่างไร ก่อนที่จะทำอันตรายให้กับสัตว์เลี้ยงของเรา
- พยาธิหนอนหัวใจตัวเต็มวัยที่อาศัยอยู่ในหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นห้องหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจ เมื่อสภาวะเหมาะสม พยาธิหนอนหัวใจก็จะผสมพันธุ์สร้างครอบครัว และปล่อยตัวอ่อนที่เรียกว่า “ไมโครฟิลาเรีย” (Microfilaria หรือ ระยะ L1) ออกมา
- ตัวอ่อนไมโครฟิลาเรีย (ระยะ L1) จะอยู่ในกระแสเลือด แต่จะยังไม่สามารถโตเป็นระยะถัดไปได้จนกว่าจะมีตัวกลาง คือ ยุงมากัดสัตว์เลี้ยง และพาเจ้าตัวอ่อนไมโครฟิลาเรียเข้าไปสู่ตัวยุงด้วย
- ตัวอ่อนระยะ L1 มีการเจริญเติบโตในตัวยุง พัฒนาสู่ระยะ L2 และ ระยะ L3 ต่อไป
- เมื่อยุงที่มีตัวอ่อนระยะ L3 กัดสัตว์เลี้ยง ก็จะปล่อยเจ้า L3 นี้เข้าสู่ร่างกายของสัตว์เลี้ยงของเรา
- ระยะ L3 จะพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะ L4 ในเนื้อเยื่อ และจะไชผ่านอวัยวะต่างๆ จนกระทั่งพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยที่อาศัยอยู่ในหัวใจ ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ต่อไปอีกครั้งได้
วงจรชีวิตแต่ระยะของพยาธิหนอนหัวใจ ใช้ระยะเวลาเป็นเดือนในการพัฒนา ซึ่งรวมแล้วอาจจะใช้เวลาเป็นปีในการกลับมาเป็นตัวเต็มวัยอีกครั้ง ดังนั้นหากเราป้องกันอย่างต่อเนื่อง ก็ไม่ใช่เรื่องยากในการกำจัดตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจในระยะต่างๆ ก่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย
ซึ่งหากพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะทำให้การรักษายากขึ้น หรือในบางกรณีอาจไม่สามารถทำการรักษาได้เลย หากสัตว์เลี้ยงของเราอยู่ในระยะที่รุนแรง และสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยต่อการรักษา เนื่องจากผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการรักษาในแบบต่างๆ ซึ่งพยาธิเพียงตัวเดียวแต่กลับก่อเกิดอันตรายถึงชีวิตของสัตว์เลี้ยง
การปกป้องสัตว์เลี้ยงให้พ้นจากอันตรายของเจ้าพยาธิหนอนหัวใจในทุกๆ ระยะ ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่เลือกใช้ “ยาหยดหลังที่มีความปลอดภัย และได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญ เป็นประจำทุกเดือน” เท่านี้ก็สามารถมั่นใจได้ว่าจะไม่มีตัวอ่อนของหนอนพยาธิหนอนหัวใจไม่ว่าระยะใดๆ มาทำร้ายสัตว์เลี้ยงของเราได้อีก…
เพราะ “หัวใจบอกให้หยด”